วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติ นักซามูไร,ดาบ,เกราะ, ของซามูไร

ซะมุไร (ญี่ปุ่น: , ภาษาไทยนิยมทับศัพท์ว่า "ซามูไร" ?) แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซะมุไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซะมุไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง

ในครั้งนี้ที่เราจะมาพูดถึงกันก็คืออาถรรพ์ของดาบซามูไรชั้นยอดที่มีอยู่จริงและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันอย่างดาบอาถรรพ์ของทั้ง 3 ตระกูลคือ ตระกูลมาซามุเนะ (正宗) ตระกูลมุรามาสะ (村正) และตระกูลโยชิมัทสึ (吉松)
ซึ่งดาบของทั้งสามตระกูลนี้ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันอีกด้วย ว่ากันว่าเรื่องอาถรรพ์ของดาบพวกนี้นั้นคือมนตราหรือพลังอำนาจลึกลับที่มีทั้งดีและไม่ดีปนกันไป ที่ผู้สร้างนั้นใช้ทั้งแรงกายและแรงใจใส่ลง
ไปเมื่อครั้งตีดาบ จึงมีความแกร่ง ทน และคม ยากที่จะหาดาบใดมาเทียบได้…..
800px-Tanto_Hyuga_Masamune
ดาบของตระกูลมาซามุเนอะ อยู่ที่ Mitsui Memorial Museum
800px-Tanto_-_Masamune
ดาบสั้นของตระกูลมาซามุเนะ อยู่ที่ Tokyo National Museum
ตระกูลมาซามุเนะนั้นเป็นช่างตีดาบมาตั้งแต่สมัยคามาคุระ (鎌倉時代) ที่ปกครองโดยรัฐบาลทหารของตระกูลโฮโจ ต่อมาคนในตระกูลมาซามุเนะที่เป็นลูกศิษย์ของเจ้าสำนักก็แยกตัวออกไปเปิดสำนักตีดาบอีกสำนักหนึ่งชื่อว่ามุรามาสะ เจ้าสำนักมุรามาสะ (ลูกศิษย์ของเจ้าสำนักมาซามุเนะ) อยากให้อาจารย์ของตนเองได้ประจักษ์ในฝีมือการตีดาบของตน จึงได้เกิดการท้าประลองตีดาบที่ดีที่สุดระหว่างสองสำนักขึ้น
มาซามุเนะได้ตีดาบที่มีชื่อว่า 柔らかい手 หรือ tender hands ใช้เหล็กผสมคาร์บอน 3 ชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นนั้นมีปริมาณคาร์บอนต่างกัน ทำให้ได้ดาบที่คมแข็งมาก ตัดไม้แม้กระทั่งเหล็ก
มุรามาสะตีดาบที่มีชื่อว่า 十千夜寒 หรือ 10,000 Cold Nights ซึ่งตีด้วยความเคียดแค้นและความริษยา ทำให้ดาบเกิดความคมแบบเหนือธรรมชาติ


เมื่อตีดาบกันเสร็จแล้วทั้งคู่จึงมาเจอกันที่ลำธารและปักดาบลงไปในน้ำโดยหันด้านคมสวนกระแสน้ำ เมื่อมีใบไม้ถูกน้ำพัดผ่านมาและได้สัมผัสผ่านดาบมุรามาสะก็จะขาดเป็นสองท่อนเสมอ ทำให้มุรามาสะภูมิใจในดาบของเขามาก ซึ่งต่างจากดาบมาซามุเนะที่เมื่อใบไม้ลอยผ่านคมดาบก็จะไม่เกิดอันตรายใดๆเลย เนื่องมาจากดาบของมุรามาสะนั้นมีไอสังหารออกมาและคร่าทุกสิ่งที่ขวางหน้าแม้แต่สิ่งที่ไม่มีชีวิต แบบระรานไปเรื่อย
5_masamune_vs__murasame_by_assassin00_1
ว่ากันว่าดาบมาซามุเนะนั้นจะทำให้ผู้ที่ถือรู้สึกสงบและมีสมาธิ แต่ดาบมุรามาสะจะทำให้ผู้ถือเกิดความคึกคะนองและบ้าคลั่ง ผู้ครอบครองจะถูกกินวิญญาณทีละนิดๆเพื่อนำมาเป็นพลังของดาบ บ้างก็ประสบภัยพิบัติเช่นชินเก็น ทาเคดะ (Shingen Takeda : 武田信玄) เจ้าของกระบวนรบลมป่าไฟภูเขา (FuRinKaSan : 風林火山) แม้ว่าจะชนะในการรบอยู่เรื่อยมาก็เกิดการเจ็บป่วยจนตาย และตระกูลก็พังพินาศในสมัยของลูกชายตนเอง
นับจากนั้นเป็นต้นมาดาบของตระกูลมุรามาสะและตระกูลมาซามุเนะก็เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วทั้งแผ่นดิน โดยผู้ที่จะได้ครอบครองดาบจากสองตระกูลนี้จะต้องเป็นถึงชนชั้นสูงอย่างจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และโชกุน หรือต่ำสุดก็ต้องเป็นไดเมียวตระกูลใหญ่ๆเท่านั้น ส่วนพวกผู้ครองเมืองหรือซามูไรธรรมดาจะไม่มีสิทธิ์ได้ถือครองเลย แต่ว่า…ดาบของสองตระกูลนี้กลับมีพลังอาถรรพ์ที่น่ากลัวมากมาย ซึ่งเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าผู้ใดที่ได้จับหรือครอบครองดาบของตระกูลมาซามุเนะและมุรามาสะนั้น จะรู้สึกถึงใบดาบในฝักที่มีอาการสั่นเร่าๆพร้อมกับเสียงร้องหวีดแหลมเล็กเบาๆในหูราวกับว่ามันมีชีวิตจริง อาจจะเป็นไปได้ว่าเจ้าดาบอาถรรพ์นี้กำลังร้องเรียกให้ผู้เป็นนายดึงมันออกมาจากฝักดาบที่เป็นพันธนาการ ให้พุ่งออกมาวาดลวดลายล้างผลาญชีวิตศัตรูหรือแม้กระทั่งเจ้านายของมันเอง เพราะใครก็ตามที่ได้ครอบครองมันก็จะต้องมีเหตุให้หลั่งเลือดหมู่ศัตรูหรือแม้แต่เลือดของตนเองแทบทุกคน


800px-Katana_Muramasa
ดาบของตระกูลมุรามาสะ อยู่ที่ Tokyo National Museum
ส่วนคนดังในประวัติศาสตร์ที่ว่ากันว่าถือดาบอาถรรพ์ก็คือ อิเอยาสุ โทกุกาวะ (Ieyasu Tokugawa : 徳川家康) อาวุธคู่กายของอิเอยาสุก็คือหอกยาริ ซึ่งเป็นผลงานของตระกูลมุรามาสะ (ตระกูลมุรามาสะนั้นเป็นช่างตีดาบประจำตระกูลโทกุกาวะ) เมื่อใดที่อิเอยาสุนำหอกนี้ออกมาฝึกวิชาการต่อสู้ ถ้าคนรอบข้างไม่ได้รับบาดเจ็บเสียเลือด ก็จะถูกหอกตัวเองทิ่มแทงให้เกิดแผลอยู่เสมอๆ นอกจากนี้แล้วอิเอยาสุได้สูญเสียสหายร่วมรบไปมากเนื่องจากดาบมุรามาสะนั่นเอง ลูกหลานของตระกูลโทกุกาวะจึงจำขึ้นใจว่าถ้าไม่จำเป็นจะไม่พกดาบของตระกูลมุรามาสะเด็ดขาด และอิเอยาสุผู้เป็นโชกุนคนแรกของสมัยเอโดะจึงได้ออกคำสั่งห้ามซามูไรทุกคนพกดาบของตระกูลมุรามาสะที่มีชื่อเสียงในฐานะของอาวุธปีศาจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความบ้าคลั่งและกระหายเลือด จนมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า ถ้าดาบของมุรามาสะไม่ได้ดื่มเลือดจะไม่ยอมคืนฝักเด็ดขาด
3b8e72c369d84e8a3279ae3b4e3f8197

อีกหนึ่งดาบที่เรายังไม่ได้พูดถึงเลยก็คือ ดาบของตระกูลโยชิมัทสึ (吉松) ว่ากันว่าดาบของตระกูลโยชิมัทสึนั้นเป็นดาบผู้พิทักษ์ ซึ่งมีเรื่อเล่าว่าหลังจากที่อิเอยาสุพ่ายแพ้ต่อคัทสุโยริ ทาเคดะ (Katsuyori Takeda : 武田勝頼) ในศึกที่ริมแม่น้ำเทนริน ก็ได้หลบหนีไปยังหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ด้วยความอับอายอิเอยาสุจึงเตรียมพร้อมที่จะฮาราคีรีตัวเองด้วยดาบวากิซาชิและดาบทาชิของตนเองที่ถูกตีขึ้นโดยตระกูลโยชิมัทสึ
*** ดาบวากิซาชิและดาบทาชินั้นเป็นชื่อที่แบ่งดาบตามความยาว เช่น ***
1. โอดาชิ (Odachi : 大太刀) ยาวมากกว่า 3 ชะกุ (กว่า 90 ซม.)
2. ทาชิ (Tachi : 太刀) ยาวตั้งแต่ 2-3 ชะกุ (60-90 ซม.)
3. โคะดาชิ (Kodachi : 小太刀) ยาวไม่ถึง 2 ชะกุ (ไม่ถึง 60 ซม.)
–>> ดาบทาชิสามแบบด้านบนนั้นเป็นดาบยาวของทหารม้าซึ่งมีความโค้งของใบดาบมาก ไม่เน้นถึงความคล่องตัวเวลาใช้แต่จะเน้นถึงระยะโจมตีให้ได้ระยะไกล
4. วากิซาชิ (Wakizashi : 脇差) ยาวตั้งแต่ 1-1.7 ชะกุ (30-50 ซม.)
–>> เป็นดาบที่ใช้พกคู่กับดาบคาตานะของซามูไร ซึ่งไว้ใช้สำหรับทำ “เซ็ปปุกุ” (ฮาราคีรี) เมื่อยามจำเป็น และเป็นดาบที่ซามูไรสามารถนำติดตัวเข้าเคหะสถานของผู้อื่นกรณีเป็นผู้มาเยือนได้โดยไม่ต้องฝากไว้กับคนรับใช้อีกด้วย (ปกติซามูไรจะพกดาบสองเล่ม และตามธรรมเนียมแล้วห้ามพกดาบยาวเข้ามาในบ้านของผู้อื่น ต้องฝากไว้หน้าบ้านเท่านั้น)
*** 1 ชะกุ (Shaku) = 0.303 เมตร ***


06_obj
ตัวอย่างของดาบสั้นวากิซาชิ

ในขณะที่กำลังจ้วงดาบเข้าไปที่ท้องของตนเองนั้นใบดาบกลับพลิกหลบ อิเอยาสุคิดว่าแกนดาบเล่มนี้คงจะหลวมแน่ๆจึงบิดใบดาบเข้าที่แล้วนำครกเหล็กบดยามาลองดาบ ปรากฎว่าดาบกลับแทงทะลุครกได้โดยง่าย อิเอยาสุจึงว่าดาบมันก็ปกตินี่นาแล้วก็จะดึงออกมาจากครกแต่ไม่ว่าจะดึงอย่างไรดาบก็ยังติดแน่นฝังอยู่ในครกนั้น หลังจากนั้นไม่นานก็มีกลุ่มของลูกน้องเข้ามาพบอิเอยาสุกำลังปล้ำอยู่กับดาบที่ติดครกเหล็ก จึงรีบเข้าไปห้ามทันทีเพราะคิดว่าอิเอยาสุกำลังจะฆ่าตัวตาย แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อลูกน้องที่สนิทคนหนึ่งกลับดึงดาบออกมาได้โดยง่าย เมื่อดาบถูกดึงออกมาแล้วอิเอยาสุจึงถูกกลุ่มลูกน้องตนเองส่งขึ้นม้ากลับไปยังดินแดนของตนเองทันที เนื่องจากว่าข้าศึกกำลังตามมาทันแล้ว ระหว่างควบม้าไปในใจก็คิดถึงเรื่องดาบว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้
TokugawaIeyasu
หลังจากศึกที่แม่น้ำเทนริน อิเอยาสุก็พกดาบคู่ของตระกูลโยชิมัทสึไว้ตลอด ไม่ว่าจะออกศึกครั้งใดก็สามารถปราบศัตรูได้หมด จนสามารถไต่เต้าขึ้นมาเป็นโชกุนของประเทศญี่ปุ่นได้ในที่สุด นับแต่นั้นเป็นต้นมาเหล่าทหารและสมาชิกของตระกูลโทกุกาวะทุกคนล้วนแต่พกดาบของตระกูลโยชิมัทสึด้วยกันทั้งนั้น
อาจเพราะความดีที่อิเอยาสุได้เคยทำไว้ หรือเพราะแรงอาถรรพ์แห่งการพิทักษ์รักษาของดาบตระกูลโยชิมัทสึก็ไม่อาจทราบได้ แต่มันสามารถทำให้ตระกูลโทกุกาวะปกครองแผ่นดินญี่ปุ่นได้อย่างยาวนานถึง 250 ปีเลยทีเดียว




ประวัติ นักซามูไร
ประวัติศาสตร์ ของนักสู้ซามูไร เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 11 เมื่อรัฐบาลฟูจิวาราขุนนางศักดินาอ่อนแอลง จึงไปขอความค้ำจุนจากมินาโมโตกับทาอิรา ซึ่งเป็นเผ่านักรบที่เข้มแข็ง หากทว่าทั้งสองเผ่านี้ก็ไม่ถูกกันและเกิดการปะทะกันเนืองๆ มิหนำซํ้ายังเป็นนักรบเถื่อนที่ไร้วินัย สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้าน ดังมีบันทึกหนึ่งจารึกไว้ว่า
นักสู้หลายคนถือโอกาสทำการตามใจชอบโดยไม่กลัวเกรงกฎหมาย ซ่องสุมกำลังข่มขู่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองตลอดจนราษฎร ยํ่ายีลูกเมียชาวบ้าน ตีชิงเอาสัตว์เลี้ยงไปจากชาวไร่ชาวนา จนไม่อาจทำการเกษตรได้ เที่ยวเดินถือธนูและลูกศรเพ่นพ่านไปทั่วราวกับโจรร้ายเมื่อชาวบ้านไม่อาจพึ่งพาให้รัฐคุ้มครองได้ จึงสามัคคีกันจัดตั้งกองกำลังขึ้นรับมือ โดยรวบรวมจากเหล่าเพื่อนบ้าน และลูกหลาน แต่แรกนั้นก็เป็นกองกำลังเล็กๆ มีอาวุธตามมีตามเกิด เพราะตระกูลฟูจิวารา ผู้ปกครองประเทศ คอยกดดันอยู่ พวกชาวบ้านจึงหาทางออกอีกครั้ง ด้วยการไปขอพึ่งบารมีจากขุนนางที่มีอำนาจ ซึ่งเหล่าขุนนางก็พอใจ ที่มีกองกำลังมาสนับสนุน จึงเลี้ยงดูนักสู้เหล่านี้อย่างดี จนมีนักสู้เกิดขึ้นมากมายในนาม "ซามูไร" ซึ่งแปลว่า "ผู้รับสนอง"
 
 

ประวัติดาบซามูไร และ ธนู

 
อาวุธ

ดาบคะตะนะ (ญี่ปุ่น: 刀 katana ?) อาวุธหลักของซะมุไร
อาวุธที่ซะมุไรใช้มีอยู่หลายชนิด แต่ดาบคะตะนะก็ไม่ได้เป็นอาวุธที่สำคัญที่สุดของซะมุไร เพราะว่าซะมุไรไม่สามารถนำคะตะนะติดตัวเข้าไปในบางสถานที่ได้ วะกิซะชิ คือ อาวุธติดตัวซะมุไรที่สำคัญที่สุด หลักบูชิโดได้สอนว่าจิตวิญญาณของซะมุไรก็คือคะตะนะของพวกเขาแต่ละคน และบางครั้งซะมุไรก็ถูกจินตานาการให้ต้องพึ่งพาคะตะนะเพื่อการต่อสู้ด้วย แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับหน้าไม้ของยุโรป หรือดาบของอัศวินที่ส่วนใหญ่ใช้เป็นแค่เครื่องมือในการต่อสู้เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ดาบคะตะนะมักจะไม่ถูกนำมาใช้เป็นอาวุธในสมรภูมิกัน จนกระทั่งยุคคะมะกุระ ตัวดาบคะตะนะเองก็ยังไม่ได้เป็นอาวุธหลักจนกระทั่งเกิดยุคเอโดะขึ้นมา
 
หลังจากที่บุตรชายของซะมุไรได้ถือกำเนิดขึ้น เขาจะได้รับดาบเล่มแรกของเขาในพิธีฉลองที่เรียกว่า มะโมะริ-คะตะนะ อย่างไรก็ตาม ดาบที่ให้ไปเป็นเพียงแค่ดาบเครื่องรางเท่านั้น โดยจะห่อหุ้มด้วยไหมยกดอกเงินหรือทองเพื่อที่จะให้เด็กอายุไม่เกินห้าขวบพกเอาไว้ในกระเป๋าสตางค์ได้ เมื่อถึงอายุสิบสามปี ในพิธีฉลองที่เรียกว่า เก็มบุกุ (ญี่ปุ่น: 元服 Gembuku ?) บุตรชายจะได้รับดาบจริงเล่มแรกพร้อมกับชุดเกราะ ชื่อในวัยผู้ใหญ่ และกลายเป็นซะมุไรในที่สุด ดาบคะตะนะและวะกิซะชิเมื่อใช้ร่วมกันแล้วจะเรียกว่าไดโช (แปลตามตัวอักษรว่า “ใหญ่กับเล็ก”)
วะกิซะชิ คือ “ดาบแห่งเกียรติยศ” ของซะมุไร ซะมุไรจะไม่ยอมให้มันหลุดจากข้างกายโดยเด็ดขาด มันจะต้องติดตัวพวกเขาไปตอนที่พวกเขาเข้าบ้านคนอื่น (แต่ต้องทิ้งอาวุธหลักเอาไว้ข้างนอก) ยามนอนก็ต้องมีมันอยู่ใต้หมอนด้วย
ดาบสั้น
ทันโตะ คือ ดาบสั้นเล่มเล็กที่มักจะใส่คู่กับวะกิซะชิในไดโช ทันโตะหรือไม่ก็วะกิซะชินี่เองที่จะถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมการฆ่าตัวตาย หรือที่เรียกว่าเซ็ปปุกุ

ธนูยาว (ยุมิ) (ญี่ปุ่น: 弓 Yumi ?)
นอกจากดาบ ซะมุไรยังเน้นการฝึกทักษะในการใช้ธนูยุมิ (ธนูยาวญี่ปุ่น) เพื่อสะท้อนศิลปะแห่งคิวโด (แปลตามตัวอักษรว่า วิถีแห่งธนู) อีกด้วย ในช่วงยุคเซงโงะกุ ธนูยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับทหารชาวญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าในช่วงนั้นพวกเขาจะรู้จักกับอาวุธปืนกันแล้วก็ตาม ยุมิเป็นธนูที่มีรูปร่างไม่รับส่วนกัน โดยประกอบขึ้นมาจากไม้ไผ่ ไม้ และหนัง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับธนูแบบประกอบขึ้นเหมือนกันแต่ยืดหยุ่นกว่าของชาวยูเรเซียแล้ว ความทรงพลังของยุมิยังต่ำกว่า ยุมิมีระยะการโจมตีที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 50 เมตรหรือน้อยกว่านั้น (ระยะโจมตีเต็มที่คือ 100 เมตร) ยุมิมักจะใช้กันหลัง “เทะดะเทะ” (ญี่ปุ่น: 手盾 tedate ?) หรือกำแพงไม้ไผ่ขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้ ส่วนธนูที่มีขนาดสั้นกว่า (ฮังกิว) มักจะใช้บนหลังม้ากัน (ต่อมา การฝึกฝนการยิงธนูบนหลังม้าได้กลายเป็นพิธีกรรมชินโตที่ชื่อ ยะบุซะเมะ (ญี่ปุ่น: 流鏑馬 Yabusame ?)
 
ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ยะริ (หอก) ได้กลายเป็นอาวุธที่ได้รับความนิยมพร้อมๆ กับนะงินะตะ (ง้าว) ยะริมักจะถูกนำมาใช้ในสมรภูมิ ที่ซึ่งการบริหารกองทหารเดินเท้าราคาถูกจำนวนมากเป็นปัจจัยที่สำคัญความกล้าหาญส่วนบุคคล การจู่โจมของทั้งทหารราบและทหารม้าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อใช้หอกแทนดาบคะตะนะ และเมื่อปะทะกับซะมุไรที่ใช้ดาบคะตะนะเป็นอาวุธ ผู้ที่ใช้หอกก็มีมักจะได้เปรียบกว่าเสมอ
ในยุทธการชิซุงะตะเกะ ที่ซึ่งฝ่ายของชิบะตะ คะสึอิเอะ แพ้ให้กับฝ่ายฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (ต่อมารู้จักกันในนามโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดชัยชนะครั้งนั้นก็คือมือหอกทั้งเจ็ดแห่งชิซุงะตะเกะ (ญี่ปุ่น: 賤ヶ岳七本槍 Shizugatake ?)
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปืนเล็กยาวได้เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นผ่านทางพ่อค้าชาวโปรตุเกส อาวุธชนิดใหม่นี้ทำให้ขุนศึกหลาย ๆ คนสามารถสร้างกองกำลังที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาจากมวลชนชาวนาได้ แต่ตัวมันก็กลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในสมัยนั้น คนจำนวนมากแลเห็นว่า การที่มันเป็นอาวุธที่ใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพการสังหารสูง เป็นการหมิ่นประเพณีบะชิโดอย่างไร้เกียรติยศ
โอะดะ โนะบุนะงะ ได้ใช้ปืนเล็กยาวจำนวนมากในยุทธการนะงะชิโนะ เมื่อปี พ.ศ. 2118 (ค.ศ. 1575) จนนำไปสู่การสูญสิ้นของตระกูลทะเกะดะในที่สุด
หลังจากที่ชาวโปรตุเกสและชาวฮอลันดาได้นำปืนเล็กยาวแบบบรรจุดินปืน หรือที่เรียกกันว่าเท็ปโปะ เข้ามาในญี่ปุ่นในครั้งแรก ช่างสร้างปืนชาวญี่ปุ่นก็ได้ผลิตมันออกมาเองในปริมาณมาก จนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 16 จำนวนปืนในญี่ปุ่นก็เพิ่มขึ้นมามากกว่าประเทศใด ๆ ในทวีปยุโรป ปืนทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาอย่างประณีตและสะท้อนถึงความมีฝีมือของช่างที่สร้างได้เป็นอย่างดี
 
เมื่อมาถึงสมัยการปกครองโดยโชกุนโทะกุงะวะ และการสิ้นสุดลงของสงครามกลางเมือง ยอดการผลิตปืนก็ลดลงอย่างรวดเร็วพร้อมกับการออกคำสั่งห้ามไม่ให้ถือครองเป็นเจ้าของอาวุธปืน ในสมัยการปกครองนี้ อาวุธที่มีพื้นฐานมาจากหอกได้ถูกเลิกใช้ไปบางส่วน เนื่องจากอาวุธเหล่านี้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการต่อสู้ระยะประชิด (ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสมัยเอโดะ) น้อย ส่วนกฎข้อห้ามเกี่ยวกับปืนที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ก็มีผลให้ไดโชเป็นอาวุธชนิดเดียวเท่านั้นที่ซะมุไรสามารถพกพาได้
ส่วนอาวุธอื่นๆ ที่ซะมุไรนำมาใช้เป็นอาวุธก็ได้แก่ ไม้พลอง (โจะ), กระบองยาว (โบะ), ระเบิดมือ, เครื่องยิงหินแบบจีน (มักจะใช้ในการจู่โจมตัวบุคคลมากกว่าใช้เพื่อการล้อมโจมตี) และปืนใหญ่
 
เกราะญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: yoroi ?) คือเครื่องสวมใส่สำหรับป้องกันอันตรายจากอาวุธ ของนักรบซามูไรในสมัยโบราณและทหารเดินเท้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักรบ ซามูไร ในการต่อสู้ ถูกเรียกว่า จิตวิญญาณแห่งเหล็กกล้า เกราะญี่ปุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปประเภท คือ โยะโรย และ โดะมะรุ ซึ่ง โยะโรย คือเกราะสำหรับซามูไรขี่ม้า หรือแม่ทัพและไดเมียว ซึ่งลักษณะของเกราะจะมีน้ำหนักมากและมีแผงกำบังไหล่ สีสันฉูดฉาดสะดุดตา ส่วน โดะมะรุ คือเกราะสำหรับซามูไรเดินเท้า จะแตกต่างกับ โยะโรย ตรงที่เกราะจะมีน้ำหนักเบาและสวมพอดีตัวกับผู้สวมใส่ และสีสันค่อนข้างทึบ
 
 

ความเป็นมาของเกราะญี่ปุ่น

เกราะญี่ปุ่น ของเหล่า ซามูไร ถูกนำมาจาก ประเทศจีน สร้างขึ้นจากเหล็กกล้าแผ่นบางๆ นำมาประกอบเข้าด้วยกัน ร้อยด้วยไหมหรือเชือก ชิ้นส่วนต่างๆ หลายๆ ชิ้นที่สามารถสวมใส่สามารถแยกออกจากกันได้ ตัวแผ่นของชุดเกราะถูกออกแบบอย่างชาญฉลาด ให้มีความหนาของเกราะมากกว่าหนึ่งชั้น มีแผ่นเหล็กอ่อนรองบริเวณด้านหลัง เพื่อที่จะช่วยดูดซับแรงกระแทกจากการปะทะในการต่อสู้ บริเวณด้านหน้าจะเป็นแผ่นเหล็กกล้าที่มีความแข็งกว่า และท้ายที่สุดเป็นการลงน้ำมันชักเงาหลายๆ ชั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกราะเป็นสนิมเวลาถูกน้ำ
ลักษณะของชุดเกราะที่สามารถแยกเป็นชิ้นๆ ของเกราะนั้นหมายความว่า ซามูไรที่ทำหน้าที่รักษาการณ์ในคฤหาสน์ของนายเหนือภายในจวนต่างๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสวมชุดเกราะที่เต็มอัตราศึกเช่นเวลาออกศึก สงคราม อาจจะสวมแค่ส่วนแขนของชุดเกราะไว้ภายใต้ชุด กิโมโน ปกติ แขนของชุดเกราะที่มีความยืดหยุ่นได้นี้ สร้างจากแผ่นเกราะชิ้นเล็กๆ ร้อยเข้าด้วยกันด้วยเส้นไหม เชือก หรือเชือกหนังเคลือบ แล้วใช้สายรัดบริเวณช่วงไหล่เพื่อยึดไว้ ในทางเดียวกันหากคาดการณ์ว่าข้าศึกศัตรูคงยังไม่บุกเข้าจู่โจม ซามูไรอาจจะสวมเกราะไว้เพียงบางชิ้นเท่านั้น ในขณะที่จะเก็บชิ้นส่วนที่หนักๆ ไว้ก่อน รอให้มีความจำเป็นแล้วค่อยสวมเกราะที่เต็มอัตราศึก
การสวมชุดเกราะที่เต็มอัตราศึกนั้น จะประกอบด้วยพิธีกรรมชุดหนึ่งที่ให้เริ่มสวมเกราะที่ มือ ขา หรือแขนก่อน จุดสำคัญของพิธีกรรมนี้ก็คือ จะช่วยให้ ซามูไร และคนรับใช้ ไม่ลืมชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งของชุดเกราะไปในระหว่างการสวมเกราะ นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดระเบียบของชุดเกราะเพื่อให้ชิ้นที่สวมทีหลัง เหลื่อมทับบนชิ้นที่อยู่ข้างใต้ที่สวมลงไปก่อน การปกป้องของเกราะจึงเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้สวมใส่มากยิ่งขึ้น เพราะการฟันจะถูกหันเหออกจากผู้สวมเกราะ โดยผิวหน้าที่เอียงลาดจำนวนมาก ที่อยู่บนบริเวณไหล่ของซามูไรลงไปตามบริเวณลำตัว จะมีส่วนเพียงเล็กน้อยที่จะยื่นออกมาจากเกราะที่ทำให้การฟันเกาะเกี่ยวได้ และทำให้คมดาบเหเข้ามาหาตัวซามูไรลงไปด้านล่างแทน เกราะญี่ปุ่น ถูกสร้างขึ้นสำหรับนักรบ ซามูไร สมาชิกของชนชั้นนักรบผู้ทำหน้าที่คุ้มครองและรับใช้ ไดเมียว แม่ทัพ และ ทหาร เมื่อยามออกศึก สงคราม เกราะญี่ปุ่นนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
  • เกราะโยโรย
  • เกราะโดะมะรุ


เกราะโยะโรย


เกราะโยะโรย สำหรับซามูไรขี่ม้า
เกราะญี่ปุ่น หรือ โยะโรย (yoroi (鎧) ) สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 5 และ 6 เพื่อใช้ในการศึกสงครามของเหล่าไดเมียว ซามูไร และกองกำลังทหาร นำวิธีการสร้างมาจาก ประเทศจีน โดยนำแผ่น เหล็ก กล้าขนาดบาง เป็นชิ้นเล็กๆ จำนวนมากกว่าร้อยชิ้น ต่อร้อยเชื่อมติดเข้าด้วยกันด้วยเส้น ไหม หรือเส้นหรือเชือกหนังให้เป็นแผ่นใหญ่ ก่อนจะเคลือบอีกชั้นด้วย แลคเกอร์ เพื่อป้องกัน น้ำ หลังจากนั้นนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชุด โดยให้เส้นไหมที่ใช้เชื่อมยืดติดกันนั้นเกยกันระหว่างแผ่นเหล็ก ชุดเกราะไสตล์ ญี่ปุ่น โบราณมีชื่อเรียกว่า "โยะโรย" ในสมัยโบราณชุดเกราะโยะโรย ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการขี่ม้าเวลาซามูไรออกศึกสงคราม เนื่องจากชุดเกราะโยะโรย ถูกสร้างจากแผ่นเหล็กจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณน้ำหนักค่อนมากและเป็นอุปสรรคในการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วน้ำหนักของชุดเกราะประมาณ 30 - 40 กิโลกรัม ซึ่งสร้างประสิทธิภาพในการต่อสู้แก่ซามูไรเป็นอย่างมาก ในการสวมใส่ชุดเกราะโยะโรย ผู้สวมจะต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะในบริเวณส่วนไหล่ ซึ่งเป็นข้อเสียของชุดเกราะชนิดนี้ เพราจะะทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างจำกัด เมื่อยามที่ต้องต่อสู้หรือกวัดแกว่งดาบ คะตะนะ เข้าใส่ศัตรู
ในระหว่างยุคสมัยสงครามโอนิน ชุดเกราะโยะโรยสำหรับนักรบซามูไรขี่ม้า เริ่มที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้น้ำหนักของชุดเกราะถ่ายเทไปยังส่วนร่างกายของผู้สวมใส่มากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยในการให้นักรบซามูไรใช้ดาบ คะตะนะ เพราะการเคลื่อนไหวในบริเวณช่วงไหล่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทนฝืนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะที่สวมใส่ และน้ำหนักของดาบคู่สองเล่ม คือดาบยาว คะตะนะ และ ดาบสั้น วาคิซาชิ แต่การที่ใช้เส้นไหมหรือเชือกเชื่อมร้อยชิ้นส่วนต่างๆ ของชุดเกราะชนิดนี้ยังคงอยู่ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในการผลิตและในการดูแลชุดเกราะชนิดวันต่อวัน เพื่อให้ชุดเกราะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สำหรับประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณที่พื้นที่ที่เต็มไปด้วยทุ่งนา การใช้ชุดเกราะโยะโรยที่ยึดด้วยเส้นไหมหรือเชือกร้อยดูจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับบุคคลทั่วไป เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กนั้นสามารถดูดซับน้ำได้ง่าย จึงทำให้ชุดเกราะมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และในสภาวะที่มีอากาศหนาวเย็น เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยจะแข็งตัวได้ง่าย
อย่างไรก็ดี เส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กชิ้นเล็กๆ เข้าด้วยกัน ก็จะทำให้ชุดเกราะมีความยืดหยุ่นในตัว สามารถสวมใส่ได้ง่ายและเมื่อเกราะเกิดชำรุดก็สามารถซ่อมแซมได้ง่ายด้วย การใช้สีของเส้นไหมหรือเชือกร้อยเช่นสีแดง สีดำ สีเหลือง เป็นการบ่งบอกสถานะของแม่ทัพในศึกสงคราม ทำให้สามารถระบุสถานะของกองทัพ แม่ทัพ และขุนพลทหารแต่ละคนว่า สังกัดตระกูลไหน ยามอยู่ในสนามรบ ในการต่อสู้ที่แสนสับสนวุ่นวาย การที่จะทุกคนในสนามรบจะสามารถแยกแยะว่าใครคือมิตรหรือศัตรู สามารถที่จะรู้ได้โดยสีของเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยชุดเกราะอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญของชุดเกราะ
และเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้ร้อยแผ่นเหล็กจำนวนมากเข้าด้วยกันนี้เอง ทำให้เกราะโยะโรยของญี่ปุ่น สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ ดูมีสีสันฉูดฉาด สะดุดตาและดึงดูดสายตาจากคนยุคใหม่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ซามูไรผู้สวมเกราะโยะโรยนั้น ค่อนข้างจะพิถีพิถันและช่างเลือกเกราะของพวกเขา และไม่ได้ยอมรับชุดเกราะที่มีสีสันสดใสแต่เพียงเพราะมันแลดูงดงามเสมอไป ที่สำคัญที่สุดก็คือ สีย้อมเส้นไหมหรือเชือกบางสี จะทำให้เส้นไหมมีความเปราะมากขึ้น และอาจทำให้เชือกร้อยยุ่ยหลุดหลุ่ยออกจากกัน ซึ่งจะทำให้มันไม่สามารถเชื่อมยึดแผ่นเกราะเข้าด้วยกันได้ และเป็นอุปสรรคสำคัญในระหว่างการทำศึกสงคราม
อย่างไรก็ดี ในภายหลัง แฟชั่น ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากปี ค.ศ. 1570 สีย้อมเส้นไหมสีดำเป็นเงาเริ่มมีให้ใช้และเข้ามามีบทบาทกับชุดเกราะ ชุดเกราะที่มีเส้นไหมหรือเชือกร้อยสีดำก็ได้รับความนิยมในหมู่ซามูไรอย่างกว้างขวาง สิ่งสำคัญที่สุดคือชุดเกราะนั้นเปรียบเสมือน “เครื่องมือทำมาหากิน” สำหรับซามูไร ที่สามารถช่วยให้ผู้สวมใส่นั้นสามารถรอดชีวิตอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่อันตรายอย่างยิ่งยวดของสนามรบ
เกราะโยะโรย สำหรับไดเมียวหรือแม่ทัพ จะมีหมวกเกราะที่มีขนาดใหญ่ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่ หมวกเกราะสำหรับเกราะโยะโรย อาจจะติดเขากวาง เขาสัตว์ ขนนกขนาดใหญ่หรือหงอนขนาดใหญ่ รูปแฉกแสงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ ที่ทำให้ผู้ที่สวมเกราะโยะโรยนั้นดูน่าเกรงขามและประทับใจในคราวเดียวกัน มอน หรือ ตราประจำตระกูล ก็เป็นส่วนประกอบหนึ่งของหมวกเกราะที่นิยมประดับลงบนหมวกเกราะ เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะและตระกูลของผู้สวมใส่

เกราะโดะมะรุ


เกราะโดะมะรุ สำหรับซามูไรเดินเท้า
เกราะโดะมะรุ (Domaru (ドマル) ) คือชุดเกราะสำหรับ ซามูไร เดินเท้า สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 5 และ 6 เช่นเดียวกับ เกราะโยะโรย จากแผ่นเหล็กกล้าชิ้นบางๆ นับร้อยชิ้น ร้อยเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นแผ่นใหญ่ด้วยเส้นไหมหรือเชือก ซ้อนทับกันหลายชั้น เกราะโดะมะรุ จะแตกต่างกับ เกราะโยะโรย เนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่า สวมใส่พอดีตัวและไม่มีแผงกำบังไหล่ ผู้สวมใส่เกราะโดะมะรุจะไม่ต้องทนแบกรับน้ำหนักของชุดเกราะ ในบริเวณส่วนหัวไหล่เช่นเดียวกับเกราะโยะโรย ทำให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวได้มากกว่า เกราะชนิดนี้ถูกสร้างขึ้นสำหรับซามูไรเดินเท้า ที่มีความปราดเปรียวคล่องแคล่วว่องไวในการต่อสู้ เพื่อที่จะสามารถคุ้มกัน ไดเมียว หรือแม่ทัพที่อยู่บนหลัง ม้า พร้อมกับอาวุธ ซึ่งจะสวมเกราะโยะโรย ที่มีน้ำหนักมากกว่า และเป็นอุปสรรคเวลาเคลื่อนไหวหรือกวัดแกว่งอาวุธ
เกราะโดะมะรุ มีสีสันที่ไม่ฉูดฉาด สะดุดตาเช่นเดียวกับเกราะโยะโรย ที่นิยมสีสันที่ฉูดฉาดเพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะของตนเอง สีของเกราะโดะมะรุนั้นค่อนข้างทึบและเรียบง่าย เหมาะสำหรับการแฝงตัวในความมืดเวลาออกศึก สงคราม ในเวลากลางคืน เกราะโดะมะรุถูกออกแบบขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับเกราะโยะโรย คือเพื่อใช้ในการทำศึก สงคราม สำหรับเกราะโดะมะรุนั้น เส้นไหมหรือเชือกที่สำหรับใช้ร้อยแผ่นเหล็กกล้าจำนวนมากเข้าด้วยกัน จะใช้สีที่อ่อนกว่าเส้นไหมหรือเชือกที่ใช้สำหรับร้อยเกราะโยะโรย เช่นสีเทา สีน้ำเงิน ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของผู้สวมใส่เช่นเดียวกัน
ไดเมียว แม่ทัพหรือซามูไรที่สามารถซื้อเกราะได้ จะซื้อเกราะโดะมะรุให้แก่ ทหาร ภายในสังกัดของตนเอง ซึ่งจะสวมเกราะที่เรียบๆ ติด ดิน มากที่สุด และสำหรับทหารที่มีความสำคัญภายในกองทัพ อาจจะมีชุดเกราะอื่นๆ ที่ประดับตกแต่งหรูหรา ไว้สำหรับงานพิธีโดยเฉพาะ
หมวกเกราะของเกราะโดะมะรุ เป็นลักษณะหมวกธรรมดาที่ไม่นิยมให้มีการตกแต่งประดับประดามากมาย เช่นเดียวกับหมวกเกราะของเกราะโยะโรย อาจจะประดับบ้างเพียงเล็กน้อยสำหรับหัวหน้านายกอง เพื่อเป็นการบ่งบอกฐานะของตนเองในสมรภูมิ นิยมสีเดียวกันกับชุดเกราะเพื่อให้มีความกลมกลืนซึ่งกันและกัน และจะประดับด้วย มอน หรือ ตราประจำตระกูล ของไดเมียว หรือซามูไรที่สังกัด เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงสถานะของซามูไรเดินเท้า เช่นเดียวกันกับ มอน ของไดเมียวหรือพวกแม่ทัพและเป็นการป้องกันตนเองจากการต่อสู้ในสมรภูมิอีกด้วย เพราะระหว่างศึกสงคราม ซามูไรเดินเท้าจะสวมเกราะโดะมะรุที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายมิตรหรือศัตรู ทำให้การแบ่งแยกสังกัดทำได้อย่างยากลำบาก มอน จะเป็นสิ่งบ่งบอกถึงสังกัดของซามูไรเดินเท้า

ขอบคุณที่มาดูเว็บกันน่ะครับ